ประวัติวัด

 
            
     
 
 วัดเสาธงกลาง ตั้งอยู่เลขที่ 36 หมู่ 9 บ้านเสาธงกลาง ถนนบางนา ตราด ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธงจังหวัดสมุทรปราการสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายมีเนื้อที่ดินที่ตั้งวัด52ไร่2งาน  17ตารางวา                                
 ประมาณ พ.ศ. 2427 นายปิ้น ไม่ทราบนามสกุล เป็นคนพื้นที่บ้านเสาธง มีความศรัทธารวบรวมเงิน ซื้อที่ดินบริจาคให้สร้างวัดในครั้งนั้น ประมาณ 18 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 5100  ครั้นกาลต่อมา นางมุ้ย ตันประเสริฐ คนพื้นที่บ้านบางปู ได้ถวายที่ดินของท่านที่ติดกับวัดอีก 2 ไร่ 2 งาน ตามโฉนดเลขที่ 3042  กาลต่อมา นางเน้ย มียิ้ม คนพื้นที่บ้างบางเสาธง มีความศรัทธาได้ถวายที่ดินของท่านที่ติดกับวัดส่วนหนึ่งและขายให้วัดส่วนหนึ่ง โดยเนื้อที่ 20 ไร่ 60 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 26033 และนายเสงี่ยม นางพัก อ่ำชิต คนพื้นที่บ้านบางเสาธง มีความศรัทธาได้ถวายที่ดินจองท่านที่ดินกับวัดอีก 9 ไร่ 1 งาน 18 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 3051 และบุตรสาวของท่านอีก 2 คนได้ถวายที่ดินที่ติดกับวัดอีก นางสาวละเอียด อ่ำชิต ถวายที่ดินอีก 3 งาน 10 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 66211 และอาจารย์สุวรรณ นางสมหมาย (อ่ำชิต) ด้วงสุข ถวายที่ดินที่ติดกับวัดอีก 1 ไร่ ตามโฉนดเลขที่ 66213

อาณาเขต              
ทิศเหนือ                              จดลำแยกจากคลองบางเสาธง
                                ทิศใต้                                   จดลำราง                                                                
                                ทิศตะวันออก                       จดคลองบางเสาธง                                               
                                ทิศตะวันตก                          ติดคลองชวดลาน                                                
                                ในสมัยที่สร้างวัดขึ้นใหม่ ประชาชนโดยทั่วไปในครั้งนั้นนิยมเรียกว่า วัดราษฎร์สโมสร วันเวลาผ่านไปกาลเวลาต่อมา ก็มีการก่อสร้างบูรณะปฏิสังขรวัดอยู่เนือง ๆ นามของวัดก็เปลี่ยนเป็น วัดคลองเสาธง ตามสถานที่ตั้งของวัด ต่อมาก็มีชื่อใหม่ว่า วัดเสาธงกลาง  วัดเสาธงกลางได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437 พื้นที่ตั้งวัดในสมัยแรกเป็นเกาะ มีน้ำล้อมรอบ  การคมนาคมในสมัยนั้นใช้ทางน้ำเป็นหลัก ภายในวัดมีอุโบสถหลังเก่า กว้าง 10 เมตร ยาว 16 เมตร รวมพื้นที่ 160 ตารางเมตร และ พ.ศ. 2502 เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่ กุฏิสงฆ์ไม้ทรงไทย 14 หลัง และกุฏิทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย 2 ชั้น 4 หลัง
                                ปูชนียวัตถุมี หลวงพ่อขาว พระประธานในอุโบสถหลังเก่า สร้างในสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.30 เมตร พระศักดิ์สิทธิ์โบราณที่ประชาชนทั่วไปเคารพนับถือ และคณะกรรมการวัด        จัดงานประจำปี ปิดทองหลวงพ่อขาว ในวันขึ้น 10 ค่ำ 11 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
                                ด้านการศึกษาทางวัดได้เปิดการสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา และได้เปิดสอนเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 นอกจากนั้นยังให้ทางราชการสร้างรงเรียนวัดเสาธงกลางขึ้นในวัด สอนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ให้สถานที่สร้างอนามัย จัดให้มีที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน และตั้งหน่วยอบรมประจำตำบลขึนภายในวัด

                                 วัดเสาธงกลาง ตั้งอยู่เลขที่ 36 หมู่ 9 บ้านเสาธงกลาง ถนนบางนา ตราด ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ดินที่ตั้งวัด 52 ไร่ 2 งาน 17 ตารางวา
                                ประมาณ พ.ศ. 2427 นายปิ้น ไม่ทราบนามสกุล เป็นคนพื้นที่บ้านเสาธง มีความศรัทธารวบรวมเงิน ซื้อที่ดินบริจาคให้สร้างวัดในครั้งนั้น ประมาณ 18 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 5100  ครั้นกาลต่อมา นางมุ้ย ตันประเสริฐ คนพื้นที่บ้านบางปู ได้ถวายที่ดินของท่านที่ติดกับวัดอีก 2 ไร่ 2 งาน ตามโฉนดเลขที่ 3042  กาลต่อมา นางเน้ย มียิ้ม คนพื้นที่บ้างบางเสาธง มีความศรัทธาได้ถวายที่ดินของท่านที่ติดกับวัดส่วนหนึ่งและขายให้วัดส่วนหนึ่ง โดยเนื้อที่ 20 ไร่ 60 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 26033 และนายเสงี่ยม นางพัก อ่ำชิต คนพื้นที่บ้านบางเสาธง มีความศรัทธาได้ถวายที่ดินจองท่านที่ดินกับวัดอีก 9 ไร่ 1 งาน 18 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 3051 และบุตรสาวของท่านอีก 2 คนได้ถวายที่ดินที่ติดกับวัดอีก นางสาวละเอียด อ่ำชิต ถวายที่ดินอีก 3 งาน 10 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 66211 และอาจารย์สุวรรณ นางสมหมาย (อ่ำชิต) ด้วงสุข ถวายที่ดินที่ติดกับวัดอีก 1 ไร่ ตามโฉนดเลขที่ 66213
อาณาเขต               ทิศเหนือ                                จดลำแยกจากคลองบางเสาธง
                                ทิศใต้                                      จดลำราง
                                ทิศตะวันออก                       จดคลองบางเสาธง
                                ทิศตะวันตก                          ติดคลองชวดลาน
                                ในสมัยที่สร้างวัดขึ้นใหม่ ประชาชนโดยทั่วไปในครั้งนั้นนิยมเรียกว่า วัดราษฎร์สโมสร วันเวลาผ่านไปกาลเวลาต่อมา ก็มีการก่อสร้างบูรณะปฏิสังขรวัดอยู่เนือง ๆ นามของวัดก็เปลี่ยนเป็น วัดคลองเสาธง ตามสถานที่ตั้งของวัด ต่อมาก็มีชื่อใหม่ว่า วัดเสาธงกลาง  วัดเสาธงกลางได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437 พื้นที่ตั้งวัดในสมัยแรกเป็นเกาะ มีน้ำล้อมรอบ  การคมนาคมในสมัยนั้นใช้ทางน้ำเป็นหลัก ภายในวัดมีอุโบสถหลังเก่า กว้าง 10 เมตร ยาว 16 เมตร รวมพื้นที่ 160 ตารางเมตร และ พ.ศ. 2502 เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่ กุฏิสงฆ์ไม้ทรงไทย 14 หลัง และกุฏิทรงไทย คอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย 2 ชั้น 4 หลัง
                                ปูชนียวัตถุมี หลวงพ่อขาว พระประธานในอุโบสถหลังเก่า สร้างในสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.30 เมตร พระศักดิ์สิทธิ์โบราณที่ประชาชนทั่วไปเคารพนับถือ และคณะกรรมการวัด        จัดงานประจำปี ปิดทองหลวงพ่อขาว ในวันขึ้น 10 ค่ำ 11 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
                                ด้านการศึกษาทางวัดได้เปิดการสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา และได้เปิดสอนเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 นอกจากนั้นยังให้ทางราชการสร้างรงเรียนวัดเสาธงกลางขึ้นในวัด สอนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ให้สถานที่สร้างอนามัย จัดให้มีที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน และตั้งหน่วยอบรมประจำตำบลขึ้นภายในวัด

5 ความคิดเห็น:

  1. เจอข้อมูลผิด หลายอย่าง
    เช่น 2502 ที่ว่าสร้างกุฏิคอนกรีตเสริมเหล็ก สองชั้น สี่หลัง นั้นไม่จริง
    แต่เดิม มีแต่กุฏิไม้
    กุฏิคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังแรก สร้างราวปี 2520-21
    เพราะปีที่ผมไปบรรจุครูที่โรงเรียนวัดเสาธงกลาง ปี 2519 นั้นมีแต่กุฏิไม้

    จาก ครูพรชัย ศักดิ์มังกร

    ตอบลบ
  2. ที่ว่าเดิม วัดมีทำเลเป็นเกาะ ไม่น่าใช่ เพราะด้านทิศตะวันตกมีแค่ลำรางเล็กๆ แบบคูน้ำ และไปสุดที่หลังอุโบสถหลังใหม่
    ทิศเหนือขึ้นไปเป็นพื้นดินตลอดไปไกล เป็นที่ของชาวบ้าน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. พื้นที่เดิมเป็นเกาะจริงครับด้านหลังโบสถ์ใหม่เป็นลำน้ำเล็กๆ มีต้นตาลตามแนวแต่ตื้นเขินครับ ปัจจุบันถมที่แล้ว

      ลบ
  3. พระอุโบสถหลังเดิม ที่เห็นในรูปข้างบนนั้น เป็นการสร้างเสริมขึ้นมาใหม่ จนไม่เหลือเค้าโครงเดิม
    ของเก่าเป็นไม่ทั้งหลัง
    มีแผ่นหินอ่อนจารึกประวัติ และชื่อ ปี ที่สร้างพระอุโบสถ ติดอยู่ข้างประตูด้านขวา(ด้านใน)
    ต้อมา มีการปรับปรุงทำประตูหรืออะไรสักอย่างในสมัยหลวงพ่อซ้ง เจ้าอาวาส ในราวปี 2527-28
    แผ่นหินอ่อนนี้ถูกแกะออกไป โดยไม่รู้ว่าไปอยู่ที่ไหน ที่จำได้เพราะตอนที่อ่านข้อความในแผ่นหินอ่อน ยังได้พูดกับหลวงพ่อว่า อีกไม่กี่ปีวะดจะมีอายุครบ 100 ปี น่าจัดงานใหญ่ฉลอง

    ตอบลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ